วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ตัวละครแต่ละตัวมีชื่อเรียกอะไรกันบ้าง
ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์มีอยู่มากมายหลายตัว และแต่ละตัวซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องก็มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เวลาที่เราอ่านที่เป็นร้อยกรอง เราก็จะเห็นชื่อตัวละครมากมายที่ที่ใช้แทนตัวละครเอก เช่น วายุบุตร หลานอินทร์ เพื่อนๆ รู้กันรึเปล่า ว่าชื่อเหล่านั้นหมายถึงใครกันบ้าง
พระราม หรือพระนารายณ์
1. พระตรีภูวนาถ หมายความถึงเป็นที่พึ่งแห่งสามโลก เพราะพระนารายณ์เป็นเทพผู้รักษาโลกให้พ้นภัย
2. พระกฤษณุรักษ์ และ พระจักรกฤษณ์ เนื่องจากพระนารายณ์เคยอวตารเป็น พระกฤษณะในปางหนึ่ง
3. พระจักรี เนื่องจากพระนารายณ์ทรงจักร เป็นอาวุธประจำพระองค์
4. องค์อวตาร เนื่องจากพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าแห่งการปกปักรักษา จึงต้องอวตารลงมาเพื่อปราบอธรรม เช่น อวตารลงมาเป็นพระราม เพื่อปราบทศกัณฐ์
5. พระหริวงศ์ หมายความว่าวงศ์พระนารายณ์
6. องค์พระสี่กร เนื่องจากพระนารายณ์มีสี่กร
7. องค์นารายณ์ เนื่องจากพระราม คือ พระนารายณ์อวตาร
8. พระทรงครุฑ เนื่องจากพระนารายณ์ทรงมีครุฑเป็นพาหนะ
ทศกัณฐ์
1. ทศพักตร์ และ ทศเศียร เนื่องจากทศกัณฐ์มีสิบหน้า หรือสิบหัว
2. ท้าวราพณาสูร เนื่องจากเป็นใหญ่ในหมู่ยักษ์
3. ท้าวยี่สิบกร เนื่องจากมียี่สิบมือ
นางสีดา
1. พระลักษมี เนื่อง นางสีดา คือ พระลักษมี มเหสีของพระนารายณ์ อวตารลงมาพร้อมกัน
สุครีพ
1. ลูกพระทินกร ลูกพระอาทิตย์ เนื่องจาก สุครีพเป็นลูกของพระอาทิตย์
2. น้องพาลี เนื่องจาก สุครีพเป็นน้องของพาลี ที่เกิดจากแม่เดียวกัน คือนางกาญอัจนา
หนุมาน
1. ลูกพระพาย และ วายุบุตร เนื่องจากพระพายนำอาวุธของพระนารายณ์ไปซัดเข้าปากนางสวาหะ จนเกิดเป็นหนุมาน จึงถือว่า หนุมานมีพระพายเป็นพ่อ
องคต
1. หลายอินทร์ เนื่องจากองคตลูกเป็นของพาลี ซึ่งเป็นลูกของพระอินทร์ จึงเป็นหลายของพระอินทร์
2. หลานท้าวเทวัญ เนื่องจากท้าวเทวัญ หมายถึงพระอินทร์ ซึ่งองคตเป็นหลาน
3. หลานท้าวมัฆวาน เนื่องจากท้าวมัฆวาน คือพระอินทร์
4. ลูกพระยาพาลี เนื่องจากองคตเกิดจากพาลี กับนางมณโฑ
พิเภก และ กุมภกรรณ
โดยส่วนมากจะเรียกว่า น้องทศเศียร น้องท้าวยี่สิบกร เนื่องจากทั้งสองเป็นน้องของทศกัณฐ์
ตัวละคร (วานร)
1. พาลี เป็นลิงมีกายสีเขียวเป็นโอรสของพระอินทร์กับนางอัจนาถูกฤาษีโคดมสาปให้กลายเป็น ลิงพร้อมๆ กับ สุครีพ ผู้เป็นน้อง
2. สุครีพ เป็นลิงมีกายสีแดง เป็นลูกของ พระอาทิตย ์กับ นางกาลอัจนา สุครีพมีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน
3. หนุมาน เป็นลิงเผือก (กายสีขาว) มีลักษณะพิเศษ คือ มีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเพชร สามารถแผลงฤทธิ์ให้มีสี่หน้าแปดมือ แลหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้ ใช้ตรีเพชร (สามง่าม) เป็นอาวุธประจำตัว
4. นิลพัท เป็นลิงมีกายสีน้ำรัก (สีดำสนิท) มีเขี้ยวแก้วเช่นเดียวกับหนุมาน มีฤทธิ์เดชเก่งกล้ามาก
5. องคต เป็นลิงมีกายสีเขียว เป็นบุตรของ พาล ี กับ นางมณโฑ เมื่อพาลีแย่งนางมณโฑมาจากทศกัณฐ์แล้ว นางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนกระทั่งตั้งครรภ์
6. ชมพูพาน เป็นลิงมีกายสีหงส์ชาด เกิดจากพระอิศวรนำเหงื่อไคลของพระองค์มาทำการชุบขึ้น มีความรู้เรื่องยาต่างๆ
7. มัจฉานุ เป็นบุตรของ หนุมาน กับ นางสุพรรณมัจฉา จึงมีร่างกายเป็นลิงเผือกเช่นเดียวกับหนุมาน แต่มีหางเป็นปลา
8. อสุรผัด เป็นบุตรของ หนุมาน กับ นางเบญกาย มีหน้าเป็นลิง แต่ศีรษะและตัวเป็นยักษ์ กายสีเหลืองเลื่อมๆ เป็นหลานพิเภก
|
รายชื่อลิงสิบแปดมงกุฏ
1. นิลปานัน เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีน้ำตาลไหม้ แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระราหูจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
2. นิลเอก เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีน้ำตาล แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระพินายจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
3. นิลขัน เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีน้ำตาลไหม้ แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระพิเนกจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
4. วิสันตราวี เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีม่วง แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระอังคารจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
5. โกมุท เป็นขุนพลวานรของพระราม กายเผือกผ่อง แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระหิมพานต์จุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
6. นิลราช เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีน้ำเงินเข้ม แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระสมุทรจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
7. นิลนน เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีแดงเข้ม แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระเพลิงจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
8. นิลปาสัน เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีเหลือง แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระสุกรจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
9. มาลุนทเกสร เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีเขียว แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระหัสจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
10. สุรเสน เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีเขียว แต่งตัวอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระพุธจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
11. สัตพลี เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีเขียว แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือพระจันทร์จุติลงมาพร้อมกับพระนารายณ์
12. เกยูร เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีน้ำตาลเข้ม แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือวิรุฬหกจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
13. มายูร เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีฟ้า แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือวิรุฬปักษ์จุติลงมาพร้อมพระนารายณ์
14. ไชยามพวาร เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีเขียวมรกต แต่งตัวตามอย่างขุนศึกถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือเทวดาองค์หนึ่งจุติลงมาพร้อมพระนารายณ์ ภายหลังได้เป็นมหาเสนาฝ่ายซ้ายเมืองขีดขิน
15. สุรกานต์ เป็นขุนพลวานรของพระราม กายสีเหลือง แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือเทวดาจุติลงมาช่วยพระนารายณ์ ภายหลังได้ผ่านนครโรมคัล
16. ไวยบุตร เป็นขุน พลวานรของพระราม กายสีเขียวเข้ม แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมเป็นเทวดาจุติลงมาช่วยพระนารายณ์
17. วิมลวานร เป็นขุนพลของพระราม มีกายสีดำ แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ เดิมคือเทวดาองค์หนึ่งจุติลงมาช่วยพระนารายณ์
18. เกษรทมาลา เป็นขุนพลวานรของพระราม แต่งตัวตามอย่างขุนศึก ถือพระขรรค์เป็นอาวุธ มี สีกายเหลือง เดิมคือเทวดาองค์หนึ่งจุติลงมาช่วยพระนารายณ์
ลักษณะนิสัยตัวละคร
นางสีดา
เป็นผู้หญิงที่รักนวลสงวนตัว รักเดียวใจเดียวมีความมั่นคงต่อพระราม มีความกล้าหาญ ยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความรักและความมั่นคงที่มีต่อพระราม
เห็นได้จาก....
นางสีดารู้สึกเสียใจที่พระรามไม่เชื่อว่าตนเองบริสุทธิ์จึงยอมลุยไฟเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองนั้นไม่มีอะไรเกินเลยกับทศกัณฐ์อย่างแน่นอน
_________________________________________________________________________________
เห็นได้จาก....
เมื่อนั้น นวลนางสีดามารศรี
ได้ฟังดั่งต้องสายสุนี มิรู้ที่จะทูลให้เห็นจริง
จึ่งบังคมก้มพักตร์พจนารถ อันข้าบาทยากเย็นเพราะเป็นหญิง
จะว่าไปไม่มีที่อ้างอิง ใครจะเล็งเห็นจริงที่ในใจ
เว้นแต่กองเพลิงกาลถ่านอัคคี จะเป็นที่พึ่งพาของข้าได้
ขอพระองค์จงสั่งให้กองไฟ ที่ในหน้าพลับพลาเวลานี้
ข้าจะตั้งความสัตย์อธิษฐาน สาบานต่อเบื้องบทศรี
แล้วจะลุยเข้าไปในอัคคี ถ้าแม้นชั่วชีวีจงวายปราณ
ฯ ๘ คำ ฯ
_________________________________________________________________________________
พระราม
เป็นผู้ชายที่มีรักมั่นคง มีความเข้มแข็ง อดทน และมีอารมณ์อ่อนไหว ดังจะเห็นได้จากตอนที่นางเบญจกายแปลงเป็นนางสีดาลอยน้ำมา
พระรามมีความรู้สึกเสียใจ พยายามให้นางสีดาแปลงนั้นฟื้นคืนสติขึ้นมาพูดคุยกับตนแต่ก็สุดปัญญา ซึ่งทำให้ทราบถึงอารมณ์ที่พระรามมีต่อนางสีดาอย่างทราบซึ้ง นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นภาพว่าพระรามประคองนางสีดามาแนบตักและพูดกับนางด้วยความเสียใจและอาลัยยิ่งนัก
_________________________________________________________________________________
ยอดเอยยอดมิ่ง เป็นความในใจจริงทุกสิ่งสรรพ์
หวังสวาทมาดหมายไม่วายวัน จะรับขวัญนัยนามาธานี
ที่ผูกใจจึงไปดลจิตเจ้า ให้โฉมนงเยาว์มาถึงที่นี่
ขอเชิญดวงดอกฟ้าสุมาลี อยู่เป็นศรีนคเรศนิเวศน์วัง
เจ้าจงดูปราสาทราชฐาน ทั้งตึกกว้านมากมายหลายหลัง
คลังเงินคลังทองสิบสองพระคลัง ทรัพย์สินมั่งคั่งเรามากมี
ขอเชิญโฉมเฉลาเป็นเจ้าของ ครอบครองสารพัดสมบัติพี่
จงผินผันพักตรามาข้างนี้ พูดจาพาทีกับพี่ยา
ควรหรือทำสะเทินเมินเฉย ไม่เห็นเลยว่ารักเจ้าหนักหนา
มาหยุดอยู่นี่ไยไคลคลา ไปนั่งแท่นแว่นฟ้าเถิดเทวี
ฯ ๑๐ คำ ฯ
พระรามมีความรู้สึกเสียใจ พยายามให้นางสีดาแปลงนั้นฟื้นคืนสติขึ้นมาพูดคุยกับตนแต่ก็สุดปัญญา ซึ่งทำให้ทราบถึงอารมณ์ที่พระรามมีต่อนางสีดาอย่างทราบซึ้ง นอกจากนั้นยังสื่อให้เห็นภาพว่าพระรามประคองนางสีดามาแนบตักและพูดกับนางด้วยความเสียใจและอาลัยยิ่งนัก
_________________________________________________________________________________
พระลักษมณ์
เป็นน้องที่ดี รักพี่ มีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมั่นต่อพี่สะใภ้ว่าจะมั่นคงต่อพระรามแน่นอน
_________________________________________________________________________________
หนุมาน
_________________________________________________________________________________
หนุมาน
เป็นทหารเอกที่รู้ใจพระรามที่สุด ฉลาดรอบรู้ ค่อนข้างหัวดื้อ เช่น ตอนที่หักกิ่งไม้ ทำลายอุทยานของทศกัณฐ์ ตอนเผาเมืองลงกา เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีกลอุบายมากมายซึ่งเอาไว้ใช้ในการศึก รักนายและพลีชีพเพื่อนาย
_________________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________________
องคต
มีความกตัญญูรู้คุณต่อพระราม และนางมณโฑ แต่เพื่อความถูกต้ององคตจึงทำในสิ่งที่ถูกต้อง
_________________________________________________________________________________
สุครีพ
_________________________________________________________________________________
สุครีพ
เป็นผู้ที่มีความกตัญู เมื่อพระรามช่วยเหลือก็ตอบแทนบุณคุณ จงรักภักดี รักพี่น้องและเคารพกลัวเกรงพี่ เห็นได้จากตอนที่พาลีแย่งหญิงที่พระอิศวรประทานให้ก็ไม่โกรธเคืองอะไร และเป็นผู้รอบรู้ในด้านการศึกสงคราม เมื่อพระรามจะรบก็จะให้สุครีพเป็นผู้จัดทัพ
_________________________________________________________________________________
ท้าวมาลีวราช (ปู่ของทศกัณฐ์)
_________________________________________________________________________________
ท้าวมาลีวราช (ปู่ของทศกัณฐ์)
เป็นผู้ที่มีความยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายไม่คำนึงว่าหลานตนเป็นคนผิด
( ไม่เข้าข้างคนผิด ) ดังตอนท้าวมาลีวราชว่าความ
_________________________________________________________________________________
พิเภก
เมื่อนั้น พระพงศ์พรหมบรมนาถา
จึ่งว่ากูผู้พิจารณา พิพากษาอาธรรม์หรือฉันใด
ไม่ควรค้านพาลพาโลโกสีย์ รถของเขามีเขาก็ให้
เมื่อสืบสวนสมอ้างทุกอย่างไป ยังแก้ไขคดเคี้ยวเกี่ยวพัน
เป็นของข้าวเล่าเถิดว่าตกหล่น นี่เก็บคนได้ดูก็ขบขัน
เอ็งพูดไม่มีจริงสักสิ่งอัน แม่นมั่นมึงลักเมียพระราม
จงควรคิดถอยหลังฟังกูว่า อย่าฉันทาทำบาปหยาบหยาม
เร่งคืนส่งองค์สีดางางาม ให้พระรามผัวเขาอย่าเอาไว้
ฯ ๘ คำ ฯ
_________________________________________________________________________________
พิเภก
เป็นผู้ที่รู้ผิดชอบชั่วดี แนะแนวทางที่ดีและถูกต้องให้แก่พี่ชายแต่เมื่อพี่ชายไม่ฟังจึงถูกขับออกจากเมืองต้องมาอยู่กับพระราม ก็รู้คุณและช่วยเหลือพระรามมาโดยตลอด
_________________________________________________________________________________
นางมณโฑ
_________________________________________________________________________________
นางมณโฑ
มีความรักลูก รักสามี ไม่โกรธเคืองที่สามีหาผู้หญิงอื่นมาอยู่ด้วย
_________________________________________________________________________________
ทศกัณฐ์
_________________________________________________________________________________
ทศกัณฐ์
รักลูก รักพวกพ้อง แต่ไม่คำนึงถึงความผิดถูก พาพวกพ้องมาสู้รบในเรื่องไม่เป็นเรื่องจนกระทั่งหมดวงศ์วาร แต่ก็เป็นผู้ที่รู้จักสำนึกผิด ดังจะเห็นได้ในตอนทัศกัณฐ์ล้ม ซึ่งก่อนตายทศกัณฐ์จะกล่าวขอโทษ และสั่งสอนให้พิเภกครองเมืองอย่างมีทศพิศราชธรรม อย่าปฏิบัติตัวเหมือนตนเอง
คุณค่าของวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
1. รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดก
พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีมรดกของชาติ
และเป็นวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของชาติไทย
2. รามเกียรติ์เป็นบ่อเกิดและศูนย์รวมของศิลปะแขนงต่างๆ
ดังนี้
2.1 การแสดงโขน หนัง และหุ่น
พระยาอนุมานราชธนเขียนไว้ว่า
โขน จะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น
โขน จะเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น
2.2 จิตรกรรม ความประทับใจในเรื่องรามเกียรติ์ก่อให้เกิดจิตรกรรม
เพื่อแสดงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรามเกียรติ์
2.3 ประติมากรรม
ภาพสลักนูนแสดงตัวละครตามเนื้อเรื่องรามเกียรติ์ ที่วัดพระเชตุพน จัดเป็นประติมากรรมประเภทไม่ลอยตัวที่งดงามด้วยคุณค่าทางศิลปะ
2.4 ศิลปกรรม
มีการนำเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นศิลปกรรมประดับอาคารต่างๆ
2.5 วรรณกรรม
เรื่องรามเกียรติ์เป็นแบบฉบับทางวรรณคดี เป็นแรงบันดาลใจแก่กวีและมีอิทธิพลต่อวรรณกรรม
ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายพระราม (มเหศรพงศ์ และ วานรพงศ์)
- พระราม
- พระลักษณ์
- พระพรต
- พระสัตรุด
- สีดา
- หนุมาน
- พาลี
- สุครีพ
- ชมพูพาน
- องคต
- มัจฉานุ
- พิเภก
ฝ่ายทศกัณฐ์ และพันธมิตร
(อสุรพงศ์)
- ทศกัณฐ์
- กุมภกรรณ
- ไมยราพ
- อินทรชิต
- รามสุร
- ท้าวลัสเตียน
- ทรพา ทรพี
- นางมณโฑ
- นางสำมนักขา
- นางเบญกาย
- นางสุธ์พรรณมัจฉา
วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย
รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน
เนื่องเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชาถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่ "พระรามประชุมพล"
จนถึง "องคตสื่อสารน่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
รามเกียรติ์บทละคร
พระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี ระบบ "วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก" ตรงกับ พ.ศ. 2323 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาล มีด้วยกัน 4 ตอน ได้แก่
- ตอน 1 ตอนพระมงกุฎ
- ตอน 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
- ตอน 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง - ตอน 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย
รามเกียรติ์ของประเทศไทยมีหลายฉบับด้วยกันคือ
1. รามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
2. รามเกียรติ์ฉบับพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
3. รามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
4. ฉบับพระราชนิพนธ์สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4
5. ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. ฉบับพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ความเป็นมาของเรื่องรามเกียรติ์
รามเกียรติ์ มีที่มาจากเรื่อง รามยณะ ที่ฤาษีวาลมิกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ มาแล้ว และได้แพร่หลาย จากอินเดียไปยังประเทศใกล้เคียง
และได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียด ผิดแผกแตกต่างออกไปจากต้นฉบับเดิมไปไม่น้อย รามยณะเป็นปางหนึ่งในสิบปางของการอวตารมาปราบยุคเข็ญของพระนารายณ์
ที่มีชื่อว่า รามาวตาร
สำหรับเรื่องรามเกียรติ์
ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน
สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)